การเกิดนมสองลอน (Double bubble deformity)
สาเหตุเกิดจากการผ่าตัดเสริมหน้าอกแล้วมิได้ปรับแต่งฐานอกให้เหมาะสม หรือ ซิลิโคนเคลื่อนลงต่ำกว่าตำแหน่งที่ถูกต้อง หรือ การเลือกวิธีผ่าตัดที่ไม่เหมาะกับรูปทรงหน้าอกจริง พบความเสี่ยงมากขึ้นในกรณีคนไข้มีหน้าอกหย่อนตัวหรือมีเนื้อธรรมชาติเดิมมากร่วมกับระยะจากหัวนมถึงราวนมสั้นกว่าปกติ
การรักษา : ขึ้นกับสาเหตุ รักษาโดยการปรับแต่งฐานอก แก้ไขระดับซิลิโคน แก้ไขวิธีผ่าตัดให้เหมาะสมกับรูปทรงธรรมชาติของหน้าอก
การคลำได้รอยย่นและขอบถุงซิลิโคน (Rippling)
เกิดได้ในรายที่เนื้อเยื่อเต้านมบางมากจนไม่เพียงพอในการปิดบังรอยย่นปกติของซิลิโคน ดังนั้นในกรณีที่เนื้อเต้านมและกล้ามเนื้อหน้าอกบางจึงควรใส่ในชั้นใต้กล้ามเนื้อเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อ ripples การแก้ไขสามารถทำได้หลายวิธีโดยอาศัยการผ่าตัดแบบต่างๆ
ระดับซิลิโคนไม่เท่ากัน (Asymetry)
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การวางระดับซิลโคนไม่เท่ากัน การหดตัวของช่องซิลิโคน การผ่าตัดที่ไม่ได้แก้ไขระดับราวนมธรรมชาติให้เท่ากัน การยืดของผิวหนังที่ฐานอกไม่เท่ากัน (Bottom out) เป็นต้น
การเชื่อมกันของผิวหนังที่ร่องอก (Symastia)
เป็นภาวะที่รักษายากมาก เกิดจากการผ่าตัดเซาะด้านในร่องอกชิดมากเกินไป อาจร่วมกับใส่ซิลิโคนที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่ฐานอกจะรับได้ โดยปกติในการผ่าตัดจะมีเกณฑ์มาตรฐานว่าห้ามเซาะชิดกลางร่องอกมากเกินไปเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว และการผ่าตัดชิดร่องอกมากเกินไป ยังมีความเสี่ยงเรื่องเลือดออกได้มากจากเส้นเลือดที่ด้านในร่องอกอีกด้วย
การอักเสบติดเชื้อ (Infection)
ป้องกันโดยควบคุมความสะอาดของเครื่องมือและห้องผ่าตัด ให้ยาปฏิชีวนะก่อนเริ่มทำการผ่าตัด ติดแผ่นป้องกันการปนเปื้อนเชื้อจากท่อน้ำนม (Nipple shield) การผ่าตัดต้องห้ามเลือดอย่างดีเพื่อป้องกันเลือดคั่งหลังผ่าตัดซึ่งจะเกิดการติดเชื้อตามมาๆ ได้
หัวนมชา หรืออาการชาที่เต้านม (Loss of nipple sensation)
มักพบได้ชั่วคราว อาการจะดีขึ้นใน 2-3 เดือน บางรายอาจใช้เวลาถึง 1 ปี ส่วนมากเกิดจากการยืดขยายของเส้นประสาท การกลับมาของความรู้สึกของหัวนมในระยะแรกอาจมีอาการเจ็บหรือไวต่อความรู้สึกมากกว่าปกติ ให้ใช้แผ่นเจลปิดเพื่อช่วยลดการสัมผัส
อาการชาถาวรของหัวนม พบได้ร่วมกับการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนขนาดใหญ่เกินไปและเกิดการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงความรู้สึกของหัวนม
การเกิดแผลเป็นนูน (Hypertrophic scar)
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุ พบว่าในคนเอเชียมีความเสี่ยงสูงกว่าคนตะวันตก การผ่าตัดเสริมหน้าอกทางรักแร้
ปัญหาจากการรักษาที่ไม่เป็นตามมาตรฐาน (Malpractice problems)
เช่น การฉีดฟิลเลอร์เสริมหน้าอก จะมีอาการจับตัวเป็นก้อนในเนื้อเต้านม การตรวจเอกซเรย์เพื่อเชคมะเร็งเต้านมทำได้ยากมากขึ้น บางรายมีอาการปวดหรือติดเชื้อแทรกซ้อนได้
ปัญหาจากการรักษาที่ไม่เป็นตามมาตรฐาน (Malpractice problems)
เช่น การฉีดฟิลเลอร์เสริมหน้าอก จะมีอาการจับตัวเป็นก้อนในเนื้อเต้านม การตรวจเอกซเรย์เพื่อเชคมะเร็งเต้านมทำได้ยากมากขึ้น บางรายมีอาการปวดหรือติดเชื้อแทรกซ้อนได้
การฉีดสเตียรอยด์ในช่องซิลิโคน เพื่อหวังในการลดผังผืดหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก
ยังไม่มีงานวิจัยยืนยันว่าได้ผลป้องกันผังผืดได้จริง แต่อาจเกิดผลแทรกซ้อนทำให้เนื้อเยื่อเต้านมบางลง เกิดความผิดปกติที่ผิวหนังมีรอบแตก ผิวหนังบางลง และอาจรุนแรงได้มาก และอาจเกิดผลแทรกซ้อนกับระบบต่อมหมวกไตหากใช้ยาในปริมาณมาก